บทที่2

๒. ซอฟต์แวร์ระบบ

ซอฟต์แวร์ระบบ

- ระบบปฏิบัติการ
     ระบบปฏิบัติการ (operating system) หรือเรียกย่อๆ ว่า โอเอส (OS) เป็ฯซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่ควบคุมและประสานการทำงานระหว่างอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ได้แก่ หน่วยรับเข้า  หน่วยประมวลผลกลาง  หน่วยความจำรอง  และหน่วยส่งออก  นอกจากนี้ยังเป็นตัวกลางเชื่อมโยงและสนับสนุนคำสั่งในการทำงานระหว่างฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ประยุกต์ด้วยบางครั้งระบบปฏิบัติการนิยมเรียกว่า แพลตฟอร์ม (platform)



๑. รูปแบบการติดต่อกับผู้ใช้งาน  ระบบปฏิบัติการมีรูปแบบการติดต่อกับผู้ใช้งาน ๒ แบบ ดังนี้
     ๑.๑) แบบบรรทัดคำสั่ง (command - line interface) เป็นรูปแบบการติดต่อกับผู้ใช้ในยุคแรกๆ  โดยผู้ใช้ต้องพิมพ์คำสั่งให้ระบบปฏิบัติการทำอย่างใดอย่างหนึ่ง  เพื่อควบคุมเครื่องคอมพิวเตอร์ ทำให้สะดวกต่อการใช้งาน การติดต่อกับผู้ใช้แบบบรรทัดคำสั่งจึงได้รับความนิยมลดลง แต่รูปแบบการติดต่อแบบบรรทัดคำสั่งยังมีความจำเป็นกับเครื่องคอมพิวเตอร์  เนื่องจากคำสั่งสามารถช่วยแก้ปํญหาต่างๆ ได้ เช่น การบันทึกไฟล์ข้อมูล  การซ่อมแซมไฟล์ที่เสียหาย เป็นต้น

     ๑.๒) แบบกราฟิก (graphic user interface : GUI) เป็นรูปแบบการติดต่อกับผู้ใช้รูปภาพเล็กๆ เป็นสัญลักษณ์แทนไฟล์หรือโปรแกรม  ที่เรียกว่า รายการเลือก (menu) หรือไอคอน (icon) ผู้ใช้สามารถสั่งงานได้โดยใช้เมาส์คลิกเลือกที่รูปภาพนั้นเพื่อเปิดไฟล์หรือ โปรแกรมต่างๆ  ทำให้ใช้งานได้สะดวกและมีสีสันที่สวยงาม  ซึ่งเป็นรูปแบบการติดต่อที่ได้รับความนิยมสูง



๒. ประเภทของระบบปฏิบัติการ  ระบบปฏิบัติการสามารถแบ่งออกได้เป็น ๓ ประเภท ดังต่อไปนี้
     ๒.๑) ระบบปฏิบัติการเดี่ยว (stand - alone operating system) เป็นระบบปฏิบัติการที่ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลหรือโน๊ตบุ๊กคอมพิวเตอร์ สามารถรองรับผู้ใช้งานเพียงคนเดียว  กล่าวคือเป็นระบบปฏิบัติการของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำงานโดยไม่มีการเชื่อมต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น  แต่ปัจจุบันระบบปฏิบัติการแบบเดี่ยวได้ขยายขีดความสามารถให้รองรับการเชื่อมต่อกันเป็นระบบเครือข่ายได้  ตัวอย่างระบบปฏิบัติการแบบเดี่ยว มีดังนี้
     (๑) ระบบปฏิบัติการดอส  (Disk Operating System : DOS) เป็นระบบปฏิบัติการที่ติดต่อกับผู้ใช้โดยรูปแบบบรรทัดคำสั่ง  เพื่อสั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานตามคำสั่งนั้นๆ โดยระบบปฏิบัติการดอสรุ่นแรกเกิดจากความร่วมมือระหว่างบริษัทไอบีเอ็มและบริษัทไมโครซอฟต์แวร์เพื่อพัฒนาระบบปฏิบัติการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลของบริษัทไอบีเอ็มและใช้ชื่อระบบปฏิบัติการว่า PC - DOS ต่อมาบริษัทไมโครซอฟต์ได้พัฒนาระบบปฏิบัตการดอสของตนเองขึ้นมา โดยใช้ชื่อว่า MS - DOS สำหรับใช้กับบริษัทผู้ผลิตเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เลียนแบบการทำงานของคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลของบริษัทไอบีเอ็ม


     (๒) ระบบปฏิบัติการไมโครซอฟต์วินโดวส์ (Microsoft Windows) พัฒนาโดยบริษัทไมโครซอฟต์ ติดต่ดกับผู้ใช้โดยแบบกราฟิกนอกจากนี้บริษัทไมโครซอฟต์ยังได้พัฒนาซอฟต์แวร์ประยุกต์ที่สามารถทำงานภายใต้ระบบปฏิบัติการวินโดวส์ที่อำนวยความสะดวกในการทำงานของผู้ใช้หลายด้าน เช่น ซอฟต์แวร์ประมวลคำ ซอฟต์แวร์นำเสนอ เป็นต้น จำงทำให้มีผู้ใช้งานอย่างแพร่หลาย ได้แก่ Windows 3.0 , 3.1 ,3.11, Windows 95 ,98, ME , Windows NT , 2000 , XP , Vista , Seven


     (๓) ระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ (Unix) เป็นระบบปฏิบัติการ ที่เคยพัฒนาในห้องแล็บ Bell สร้างขึ้นเพื่อใช้กับเครื่องมินิคอมพิวเตอร์ และเมนเฟรม ใช้ในการควบคุมการทำงาน ของศูนย์คอมพิวเตอร์ ที่มีการเชื่อมลูกข่ายคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ต่อพ่วงเป็นจำนวนมาก ดังนั้นระบบยูนิกซ์ จึงมักใช้ในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ และมีการเชื่อมต่อเครือข่ายระยะไกล เช่น เครือข่ายอินเทอร์เน็ต ต่อมาได้มีการพัฒนา ให้สามารถนำยูนิกซ์ มาใช้กับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ได้ ปัจจุบันระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ ได้รับการพัฒนามาอย่างต่อเนื่องจากสองค่ายคือ AT&T และ BSD และคาดว่ายูนิกซ์ จะเป็นที่นิยมต่อไป  ลักษณะการทำงาน ยูนิกซ์ ติดต่อกับผู้ใช้ได้ โดยการพิมพ์คำสั่งลงบนเครื่องหมาย Prompt Sign แต่ในปัจจุบัน สามารถจำลองจอภาพการทำงาน ของยูนิกซ์ ให้อยู่ในสภาพแวดล้อมของวินโดวส์ได้แล้ว ทำให้สามารถทำงาน ติดต่อกับผู้ใช้ได้สะดวกมากยิ่งขึ้น คุณสมบัติพิเศษของยูนิกซ ์คือ เรื่องของการรักษาความปลอดภัย ในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ รวมทั้งมีความสามารถสูง ในด้านการติดต่อ
สื่อสารระยะ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น